น้ำในตู้ปลา น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุด

น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาที่เหมาะสมที่สุด คงหนีไม่พ้นน้ำประปลา แต่ในที่นี้หลายท่านอาจเถียงอยู่ในใจ ว่าน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติน่าจะเหมาะสมกว่า ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า แหล่งน้ำในธรรมชาติปัจจบัน อาจประกอบไปด้วยโลหะหนักและ แร่ธาตต่างๆละลายอยู่ในน้ำในปริมาณ รวมถึงเชื้อโรคและสิ่งมีชีวิตในน้ำที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าเห็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอันตรายกับปลาได้ ในขณะที่น้ำประปาที่เราใช้มีการกรอง และเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่อาศัยในน้ำก่อนที่จะแจกจ่ายมายังบ้านเรือนต่างๆ แต่ก่อนที่เราจะนำน้ำประปามาใส่ตู้ปลา ต้องนำไปพักไว้ในภาชนะที่แสงแดดส่องถึงอย่างน้อย 2 วัน เพื่อให้คลอรีนในน้ำระเหยออกจากน้ำประปาไปจนหมด แต่ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตสารเคมี ที่ใช้กำจัดคลอรีน เพื่อเอาใจกลุ่มวัยรุ่นใจร้อนที่ไม่อยากเสียเวลาในการพักน้ำ แต่พร้อมที่จะเสียเงินในที่นี้ก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละท่าน แต่ในทั้งนี้ขอแนะนำให้..

ผู้เลี้ยงทุกท่านขณะที่ท่านเปลี่ยนน้ำใหม่ ขอให้เปิดปั๊มอากาศ เพื่อเพิ่ม ออกซิเจนในน้ำ เพื่อให้ปลาสามารถปรับตัวกับน้ำใหม่ได้เร็วขึ้น แต่สำหรับท่านที่เป็นมืออาชีพหรือเพาะเลี้ยงแบบฟาร์มการซื้อน้ำประปามาใช้ใน การเลี้ยง อาจไม่เหมาะสมในเรื่องของต้นทุน ดังนั้นการควบคุมคุณและการจัดการคุณ สมบัติของน้ำ ที่นำมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจึงมีความจำเป็น เช่น การตรวจความเป็นกรดด่าง การตรวจความกระด้าง การตรวจหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีลายละเอียดมาก สำหรับผู้เลี้ยงปลาตู้คงไม่มีความจำเป็น แต่สำหรับผู้ใช้น้ำบาดาลในการเลี้ยงปลา ควรนำน้ำบาดาลมาผ่านการกรองด้วยเรซิน และ คาร์บอนก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาแต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ขอให้ซื้อยาปรับสภาพน้ำมาใช้ เนื่องจากน้ำบาดาล จะมีแร่ธาตุทที่ทำให้น้ำกระด้างผสมอยู่ในปริมาณมาก ดังนั้นจึงต้องมีการปรับสภาพก่อน และ เมื่อเลี้ยงปลาไปประมาณ 1- 2 สัปดาห์ ควรหาซื้อสารเคมี ที่ใช้ในการตรวจสอบปริมาณไนไตรท์ที่ละลายอยู่ในน้ำ เพื่อป้องกันปริมาณไนไตรท์ที่มากเกินจนทำให้ปลาของท่านเกิดการเจ็บป่วยถึง ตายได้

คุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาสวยงามควรเป็นดังนี้

* ออกซิเจนในน้ำ > 5 มิลลิกรัมต่อลิตร
* ค่ากรด-ด่างอยู่ในช่วง 6.8-7.5
* แอมโมเนีย < 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร
* คลอรีน <0.01มิลลิกรัมต่อลิตร
* ไนไตรท์ < 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร

ที่มา http://www.jj2u.20megsfree.com/Fish%20Water1.html

Tags:

Relate Posts :